ความรู้ที่เรามี…ช่วยเหลือใครได้มากแค่ไหนในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในวาระโอกาสที่ต่างกันออกไป วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้เปิดสอนสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยผู้ที่จบการศึกษาไป สามารถทำงานเป็น “จป.วิชาชีพ” ได้ หาก “จป.วิชาชีพ” มีความเกี่ยวข้อง หรือ อยู่บริเวณเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ‘แผ่นดินไหว’ พวกเขาจะทำอะไรในสถานการณ์นั้นได้บ้างนะ
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว (การเตรียมความพร้อม)การประเมินความเสี่ยงและวางแผนรับมือ:
- ประเมินความเสี่ยง ระบุจุดเสี่ยง และวางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน การจัดฝึกอบรมและให้ความรู้: สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผ่นดินไหว วิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง การตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารและอุปกรณ์: ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง ระบบ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มั่นคงและพร้อมใช้งาน การจัดเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉิน: ชุดปฐมพยาบาล อาหารแห้ง น้ำดื่ม ไฟฉาย วิทยุสื่อสารและอุปกรณ์กู้ภัยเบื้องต้น

ช่วงเกิดแผ่นดินไหว การให้คำแนะนำและควบคุมสถานการณ์เบื้องต้น:
- ให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นในการปฏิบัติตนตามแผนที่วางไว้ และช่วยควบคุมสถานการณ์เบื้องต้นให้เป็นระเบียบ การช่วยเหลือในการอพยพ: ช่วยนำทางและอำนวยความสะดวกในการอพยพผู้คนไปยังจุดปลอดภัยตามเส้นทางที่กำหนด การปฐมพยาบาลเบื้องต้น: ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย

หลังเกิดแผ่นดินไหว การประเมินความเสียหาย:
- ประเมินความเสียหายของอาคาร สถานที่ทำงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การควบคุมและป้องกันอันตรายเพิ่มเติม: ดำเนินการเพื่อควบคุมและป้องกันอันตรายเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้น บทวนแผนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การประสานงานกับหน่วยงานภายนอก: หน่วยกู้ภัย หน่วยดับเพลิง และหน่วยงานราชการอื่น ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือและการสนับสนุน การดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัย: ดูแลเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยในพื้นที่ประสบภัย การให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ: ให้กำลังใจและช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภัย

จป.วิชาชีพ เขาแต่งตัวยังไงกันนะ? จุดเด่นที่เห็นได้ชัด คือ หมวก Safety ‘สีเขียว’ และเสื้อ Safety