การศึกษาเชิงเปรียบเทียบอัตราส่วนความสามารถในการทํากําไรของบริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI สําหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์

A comparative study of the profitability ratios of companies listed on theTHSI sustainable stocks list for companies listed on the Stock Exchangeof Thailand. Service industry group Commercial business category

สถานการณ์ในปัจจุบันนักลงทุนให้ความสําคัญกับบริษัทที่มีนโยบายหรือกลยุทธ์ด้าน ESG และเริ่มให้
ความสําคัญในการลงทุนกับบริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบ
อัตราส่วนความสามารถในการทํากําไรของบริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI กับบริษัทที่ไม่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน
THSI และ 2) เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนความสามารถในการทํากําไรก่อนและหลังของบริษัทที่มีรายชื่อหุ้น
ยั่งยืน THSI สําหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ
    1.1. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกช่วยยืนยันผลการวิจัย 1.2. ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาในกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดอื่นๆ ที่มีความแตกต่างกันประกอบเพื่อเป็นการเปรียบเทียบและทําให้ได้ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น 1.3 ตัวแปรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อัตราส่วนความสามารถในการทํากําไร อัตราผลตอบแทนจาสินทรัพย์(ROA) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกําไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ซึ่งยังมีอีกหลายปัจจัยที่สามารถเปรียบเทียบกับการมีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI เช่น อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพของสินทรัพย์ (Activity Ratios) และอัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
  2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
    ภาคธุรกิจบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวด
    ธุรกิจพาณิชย์ควรมีการส่งเสริมและให้การสนับสนุน ในการพัฒนาศักยภาพในการยื่นเสนอเพื่อมีรายชื่อหุ้น
    ยั่งยืน THSI โดยนําผลการวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ศึกษาและต่อยอดการพัฒนา
  3. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
    ภาคธุรกิจบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวด
    ธุรกิจพาณิชย์ควรนําไปประยุกต์ใช้ในการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ ESG เพื่อยื่นให้มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI เพราะ
    มีหลักฐานด้านงานวิจัยว่ามีผลดีต่ออัตราส่วนความสามารถในการทํากําไร ในส่วนอัตราผลตอบแทนจาก
    สินทรัพย์(ROA) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนกําไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ซึ่ง
    สอดคล้องกับงานวิจัยของ

ธนากร พงษ์ภู่, โอภาส กิจกำแหง, และกฤษฎา เครือชาลี. (2567). การศึกษาเชิงเปรียบเทียบอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่มีรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(7), 700-715.

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง