การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าบนหลังคารถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการแข่งขัน BWSC-2023 รุ่น CRUISER CLASS

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าบนหลังคารถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 สำหรับการแข่งขัน Bridgestone World Solar Challenge 2023 รุ่น Cruiser Class โดยการวัดค่า
ค่าพารามิเตอร์ 4 ตัว ได้แก่ ความเข้มแสง อุณหภูมิ แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า เพื่อหาค่ากำลังไฟฟ้าและพลังงาน
ไฟฟ้าที่ผลิตได้ การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคารถจะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิกอนแบบผลึกเดี่ยวที่อ่อนตัวได้กำลังผลิตติดตั้งขนาด 650 วัตต์ ที่แรงดันไฟฟ้า 79.8 โวลต์ ผลการทดสอบการผลิตพลังงานไฟฟ้าของแผงเซลล์
แสงอาทิตย์ในขณะเข้าร่วมการแข่งขัน Bridgestone World Solar Challenge 2023

ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่เมือง Darwin ไปยังเมือง Mataranka เป็นระยะทาง 422 กิโลเมตร สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้3.93 กิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยมีค่ากำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 558 วัตต์ที่เวลาประมาณ 13.30 น. และค่าความเข้มแสง 1,430 วัตต์ต่อตารางเมตร คิดเป็นประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์11.82% เมื่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับค่ารังสีดวงอาทิตย์มากมีผลทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตกำลังไฟฟ้าได้มากขึ้น กระแสไฟฟ้าเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มแสง เมื่อความเข้มแสสูงกระแสที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ก็จะสูงขึ้น ในขณะที่แรงดันไฟฟ้าจะไม่แปรผันตามความเข้มแสงเนื่องจากมีการจ่ายแรงดันไปยังแบตเตอรี่ตลอดเวลา

ศรายุทธ โรหิตเสถียร, ปิยะบุตร ยิ้มแฟน, และกำจัด ใจตรง. (2566). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าบนหลังคารถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการแข่งขัน BWSC-2023 รุ่น CRUISER CLASS. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม,วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม. 11(1), 46-52.

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง