การศึกษาเชิงภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในบุคลากรที่ทํางานกับคอมพิวเตอร์ในสํานักงานของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงทพมหานคร จํานวน 30 ตัวอย่าง ที่ใช้เวลาปฏิบัติงาน
คอมพิวเตอร์เฉลี่ยมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์
ด้วยเทคนิค Rapid Office Strain Assessment (ROSA)
จากการศึกษาวิจัยพบว่าบุคลากรที่ทํางานกับคอมพิวเตอร์ในสํานักงานของวิทยาลัยเอกชนที่ศึกษาในครั้งนี้มี
อายุงานในองค์กรแห่งนี้ เฉลี่ย 10 ปี และส่วนใหญ่ใช้เวลาทํางานกับคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 5 – 6 ชั่วโมงต่อวัน
ร้อยละ 66.67 เฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งผลการประเมินอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณ ไหล่/บ่า คอ และหลังส่วนบน ร้อยละ 83.33 70.00 และ 66.67 ตามลําดับ
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ กล่าวคือบุคลากรควรตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพในระยะยาว มีความรู้เรื่องลักษณะท่าทางการนั่งทํางานกับคอมพิวเตอร์และการจัดสถานีงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ ทราบถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการนั่งทํางานต่อเนื่อง รวมถึงการปรับเปลี่ยนอิริยบทและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีในระหว่างวัน โดยการรับการอบรมความรู้หลักการทางการยศาสตร์ในการทํางานคอมพิวเตอร์ ทั้งต้องปรับปรุงสถานีงานและปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่งให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ โดยหน่วยงานต้นสังกัดต้องให้การสนับสนุนเนื่องจากอาจมีการใช้งบประมาณในการจัดซื้อหรือปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อไป
สุคนธ์ ขาวกริบ ปัญปพัชรภรณ์ บุญพร้อม นวลนิตย์ แสงสิริวุฒิ ศศิธร ลอเรนซ์ องอาจ งามดี และอินจิรา นิยมธูร. (2567). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในบุคลากรที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสำนักงานของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 9(1), 166-176.